เมนู

โดย พระเจ้ายูกราติเดส (Eukratides) ซึ่งอาจจะเป็นกษัตริย์องค์แรกในบรรดากษัตริย์ที่เข้า
ครองดินแดนแถบฝั่งแม่น้ำอินดัส (Indus) อาจจะเป็นไปได้ว่า พระนามสองพระนาม (ที่แตกต่าง
กัน) นั้น หมายถึงบุคคลคนเดียวกัน คือ พระนามหนึ่งแบบภาษาบาลี (หรือบางทีก็อาจ
จะเป็นพระนามภาษาท้องถิ่นที่ผู้แต่ง (มิลินทปัญหา) นำมาใช้ และอีกพระนามหนึ่งเป็นภาษา
พื้นเมือง (ของพระองค์เอง) และก็อาจเป็นได้ว่า เหรียญ (ของพระเจ้าเมนันเดอร์) นั้น สร้างขึ้น
เพื่อเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์ที่พวกกรีกเข้ายึดครอง อินดัส ได้ ถ้าเป็นจริงดังกล่าวมานั้น การที่
เข้าตั้งชื่อเกาะอันเป็นที่สร้างเมืองนั้นว่า "อลสันทะ" (คือ อเล็กซานเดรีย) นั้น คงไม่ได้มุ่งถึง
ตัวเกาะเป็นสำคัญ แต่ดูจะเพื่อเป็นการแสดงให้รู้ว่า เกาะนี้พวกเขาไม่ได้เป็นผู้ค้นพบก็จริง
แต่ว่ามันกลายเป็นที่สำคัญขึ้นมา ก็เพราะพวกเขาได้ยึดครองไว้นั่นเอง(1)
นางฮอนเนอร์ ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวของพระเจ้ามิลินท์ไว้ว่า พระเจ้า
มิลินท์หรือเมนันเดอร์นั้น เป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงและเป็นชาวกรีก และเป็นผู้ที่
มีตัวตนอยู่จริง ๆ ด้วย แม้ว่าจะกำหนดสมัยของพระองค์ไม่ได้อย่างแน่นอนก็ตาม แต่นัก
ประวัติศาสตร์ปัจจุบันก็กำหนดว่า พระองค์มีพระชนม์อยู่ในราวศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตศก
วินเซนติ สมิธ (Vincente Smith) กำหนดปีรัชกาลของพระองค์ว่า ราว 160-140 ก่อน ค.ศ.
ลามอตเต (Lamotte) ว่าราว 163-150 ปี ก่อน ค.ศ. นาเรน (Narain) ว่าราว 155-130 ปี
ก่อน ค.ศ. ส่วน อา. ฟอน กุตชมิด (A. von Custchmid)ว่า ราว 125-95 ปีก่อน ค.ศ.
เรฟสัน (Rapson) ซึ่งเห็นพ้องกับ กุตชมิด ว่า ยูกราติเดส (Eukratider) ครองราชย์ราว 175 ปี
ก่อน ค.ศ. และเมนันเดอร์กับยูกราติดส์ นั้น อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นบุคคลสมัยเดียวกัน
ชื่อของพระเจ้ามิลินท์นั้นในคัมภีร์บาลีอื่น ๆ นอกจากมิลินทปัญหาแล้วไม่ค่อยจะมีกล่าวถึง
ในชินกาลมาลีปกรณ์ที่แต่เป็นภาษาบาลีในประเทศไทย โดยพระเถระไทย (ชาวเชียงราย ชื่อ
รัตนปัญญาเถระ) เมื่อ พ.ศ. 2060 กล่าวว่า พระเจ้ามิลินท์ประสูติเมืองสาคละ ในประเทศ
อินเดีย ในขณะที่พระเจ้ากูฏกัณณติสสะกำลังเสวยราชย์อยู่ที่เมือง อนุราธบุรี ระหว่าง พ.ศ. 560-
561 ถึง 582-583 นายริจิแนล เลอ เมย์ (Reginald le May) ซึ่งอ้างถึงชินกาลมาลีในหนังสือ
"พุทธศิลปในสยาม" ของเขาก็กล่าวว่า ชินกาลมาลีนั้นเป็นหนังสือที่มีชื่อเสียงและเรื่องราวเชื่อถือ
ได้ แต่มันเป็นไปไม่ได้ที่จะกำหนดให้พระเจ้าเมนันเดอร์มีพระชนม์ยืนยาวมาถึงสมัยพระเจ้ากูฏ
กัณณติสสะ (แห่งลังกา) ตามหลักฐานที่กล่าวแล้ว เพราะกษัตริยองค์นี้ปรากฏว่าได้เสวยราชย์เมื่อ
500 ปีหลังพุทธปรินิพพานแล้ว (ราว 438 ปีก่อน ค.ศ.) ชินกาลมาลีคงจะถือปีรัชกาล
ของพระเจ้ามิลินท์ตามข้อความพบในมิลินทปัญหาหน้า 3 ซึ่งเป็นการถือเอาความหมายตาม

(1) Sacred Book of the East Vo1. xxxv, p.xxii-xxiii.

ตัวอักษรในข้อความตอนนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงพยากรณ์ว่า หลังจากพุทธปรินิพพานแล้ว
500 ปี บุคคลทั้งสอง (มิลินทร์-นาคเสน) จะมาเกิดถ้าเราเชื่อข้อความตอนนี้ตามตัวอักษรแล้ว
เราก็อาจจะเชื่อไว้ง่าย ๆ ว่า สมัยของพระเจ้ามิลินท์ ตรงกับสมัยที่พระเจ้ากูฏกัณณติสสะขึ้น
ครองราชย์ที่เมืองอนุราธปุระ หรือว่าพระเจ้ากูฏกัณณติสสะกำลังครองราชย์อยู่ ในขณะที่
พระเจ้ามิลินท์กำลังเริ่มครอบคาองดินแดนทางจังหวัดภาคเหนือของอินเดีย ที่พระองค์ได้รับ
มรดกตกทอดมา หรือที่ทรงตีได้มา กษัตริย์แห่งอนุราธปุระองค์นี้ก็คิด พระเจ้ากูฏกัณณติสสะ
ผู้ใจบุญซึ่งประสูติราว 44 ปีก่อน ค.ศ. (ตามคำของนายธนิต อยู่โพธิ์ ที่ให้แก่นางฮอนเนอร์)
ก็คือ พ.ศ. 500 นั่งเองซึ่งก็ไม่ขัดกับปีขึ้นครองราชย์ เมื่อ พ.ศ. 560-1 และปีสวรรคตเมื่อ
พ.ศ. 582-3 เมื่อพระชนมายุได้ 82 ปี แต่ก่อนไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะไม่มีหลักฐานยืนยัน
หากปีครองราชย์ของพระเจ้ากูฏกัณณติสสะ (ตามชินกาลมาลี)ถูกจริง ในสมัยดังกล่าวนั้น
จักรวรรดิอินโดกรีกหรือบากเตรียในอินเดีย ก็ได้เสื่อมลงไปแต่ว่าสมัยของพระเจ้าเมนันเดอร์
หรือมิลินท์ (ตามที่กล่าวถึงในมิลินทปัญหา) นั้น ไม่มีอะไรที่ส่อแสดงว่า กำลังเสื่อมอำนาจ
ลงเลย แต่กลับแสดงให้เห็นว่า กำลังเจริญรุ่งเรือนอย่างเต็มที่ด้วยซ้ำไป อีกประการหนึ่ง เรา
ควรจะระลึกไว้ด้วยว่า 500 ปี ตามที่กล่าวในมิลินทปัญหานั้นอาจจะเป็นเพียงวิธีการพูดที่
หมายถึงระยะเวลาอันยาวมาก แต่ไม่อาจกำหนดตายตัวลงไปได้เท่านั้น (1)
ลามอตเต (Lamotte) ให้ข้อสังเกตไว้อีกอย่างหนึ่งว่า ในมิลินทปัญหานั้น พระเจ้า
มิลินท์ไม่ได้ทรงถามปัญหาเกี่ยวกับเรื่องพุทธศิลปเลย ฉะนั้น พระองค์จะต้องประสูติก่อนที่จะมี
การสร้างพระพุทธรูปเป็นแบบมนุษย์ธรรมดาทั่วไป มิฉะนั้นแล้ว ก็จะต้องมีการสนมนากันถึง
ปัญหาในเรื่องนี้บ้าง และนักปราชญ์ทางยุโรปบางท่านยังให้รายละเอียดต่อไปอีกว่า มเหษีของ
พระเจ้ามิลินท์นั้นชื่อว่า พระนางอคาโธเคลีย (Agathocelia)(2)
เกี่ยวกับดินแดนของพระเจ้ามิลินท์นั้น นักปราชญ์ทางตะวันตกเชื่อว่า คืออาณาเขตใน
ฆาซนี (Ghazni) ซึ่งติดต่อกับลุ่มน้ำกาบุล (Kabul) ทางเหนือ หลักฐานทางตะวันตกว่า พระเจ้า
มิลินท์จะต้องครอบครองดินแดนไม้น้อยไปกว่าปาโรปามิซาเด (Paropamisadae) และบางส่วน
ทางภาคเหนือและตะวันออกของ อราโคเซีย (Arachosia) เหรียญที่ขุดพบนั้นทำให้ได้รู้ว่า
พระเจ้ามิลินท์ครองแคว้นคันธาระ ซึ่งมีศูนย์กลางสำคัญ 2 แห่ง คือ ปุสกะลาวตีและตักศิลา
(Puskalavati, Taxila.) และปัจจุบันเชื่อกันว่า พระเจ้ามิลินท์ครองดินแดนเหนือกาบุล และ
บางทีจะเลยเข้าไปถึงทางภาคเหนือของ ฮินดูกูษ (Hindu Kuch) ด้วย(3)

(1) Milinda,s Quertions Vol" 1,p. xxiii-xxxiv.
(2) Milinda, s Questions, Vol.1, p. xxxiv.
(3) Ibid, vol.1 , p.xxv.

พระลักษณะของพระเจ้ามิลินท์นั้น ปรากฏตามมิลินทปัญหาว่าประกอบด้วยพระ
พลังทางกาย พระพลังทางความคิด ด้วยความกล้าหาญ ด้วยปัญญา พระเจ้ามิลินท์นั้น ทรงมั่งคั่ง
บริบูรณ์ด้วยราชสมบัติ, มีพระราชทรัพย์และเครื่องราชูปโภคเป็นอันมากพ้นที่จะนับคณนา มี
พลพาหนะหาที่สุดมิได้ (1)
สำหรับประวัติของนาคเสนนั้น มิลินทปัญหาฉบับภาษาจีน กล่าวว่า มาตุภูมิของ
พระนาคเสน คือ แคว้นแคชเมียร์ (Kashmir) ซึ่งเป็นศูนย์กลางนิกายสรวาสติวาท ส่วนฉบับ
ภาษาบาลีกล่าวว่า ท่านเกิดที่เมืองคะชังคละ ซึ่งเป็นเมืองทางการค้าขาย ทางชายแดนตอนเหนือ
ของมัชฌิมประเทศ พระนาคเสนนั้นปรากฏว่า เป็นผู้ฉลาดสามารถเป็นนักพูดและคงแก่เรียน
เป็นคลังแห่งข้ออุปมาที่สามารถนำเอามาใช้ได้ตามต้องการ และมีความสามารถอย่างไม่น่าเชื่อ
ก็คือ สามารถเรียนพระอภิธรรมได้อย่างเชี่ยวชาญ โดยการฟังอธิบายของอาจารย์เพียงครั้ง
เดียวเท่านั้น ในชินกาลมาลีปกรณ์ กล่าวถึงพระนาคเสนว่า เป็นผู้ดำริสร้างพระพุทธปฏิมาขึ้น
องค์หนึ่ง และสำเร็จลงด้วยอำนาจของเทพดา และอิทธิฤทธิ์ของพระแก้วมรกต และกล่าวถึง
พระธัมมรักขิต อาจารย์ของพระนาคเสนว่า อยู่ที่ปุปผวดี ในเมืองปาฏลีบุตร ในอรรถกถา
ืทีฆนิกายและอรรถกถาอังคุตตรนิกาย ก็ปรากฏชื่อของอัสสคุตตเถระด้วยและได้รับยกย่อง
ให้เป็นตัวอย่างของกัลยาณมิตร ด้วย (2)
ส่วนนายเบอร์นอฟ (Burnouf) ได้อ้างหลักฐานทางธิเบตกล่าวว่า พระนาคเสนองค์นี้
คือ องค์เดียวกับพระนาคเสนที่ทำให้เกิดมีการแยกนิกายต่างๆ ออกไปเมื่อ 137 ปี หลัง
พุทธปรินิพพาน โดยอ้างว่า พระนาคเสนได้แสดงความคิดเห็นอภิธรรมโกสะ วยาขยาอันเป็น
คัมภีร์สำคัญคัมภีรหนึ่งไว้อย่างยืดยาว ส่วนศาสตราจารย์ เคิร์น (Kern) แห่งลีเด็น (Lieden)นั้น
ไม่เชื่อว่า พระนาคเสนจะเป็นบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริง และไม่เชื่อแม้กระทั่งว่า ในพระพุทธศาสนา
จะมีพระภิกษุที่มีชื่ออย่างนี้อยู่ด้วย เขาเชื่อว่า พระนาคเสนนั้นเป็นเช่นเดียวกับ ปตัญชลีฤๅษี ผู้
รจนาคัมภีร์ปรัชญาฝ่ายโยคะ ซึ่งไม่มีตัวตนอยู่จริง ทั้งยังมีสมญานามอื่น ๆ อีกด้วย คือ นาเคศะ
และผณิน แต่ศาสตราจารย์ ริส เดวิดส์ ไม่เห็นด้วยกับความเห็นของทั้งสองท่านดังกล่าวมานี้ (3)
มิลินทปัญหา ฉบับภาษาบาลีนั้น เท่าที่ปรากฏอยู่ในบัดนี้ก็มีฉบับอักษรสิงหล อักษร
โรมัน อักษรไทย อักษรพม่า และอักษรขอม หรือเขมร ฉบับหลัง ๆ นี้ก็เชื่อแน่ว่าได้มาจาก

(1) มิลินทปัญหา ฉบับแปลในมหามกุฏ ฯ หน้า 5
(2) Milinda's Questions, Vol. 1 p. xxvii
(3) Sacred Book of the East Vol. xxxv, p. xxvi"